ผ่อนรถต่อไม่ไหว ควรไปต่อหรือพอแค่นี้

|
#กฎหมายใหม่ 51.2 ผ่อนรถต่อไม่ไหว ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ https://justicechannel.org/new-laws/newlaw51-2
.
การค้างชำระค่างวดรถ 3 งวดติดกัน และได้รับหนังสือแจ้งจากไฟแนนซ์ให้ชำระค่างวดที่ค้างไว้ อย่างน้อย 30 วัน (รวมเวลาประมาณ 4 เดือน ก่อนถูกยึดรถ) มี 3 ทางเลือกก่อนรถถูกยึด คือ
.
1. ปรับโครงสร้างหนี้ขอปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือผ่อนชำระ แบบขั้นบันได
2. รีไฟแนนซ์ใหม่ ขอสินเชื่อก้อนใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิมหรือลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น
3. เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อโอนสิทธิ์หรือการเปลี่ยนสัญญารถ ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรง รับหน้าที่ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ครอบครองและใช้รถที่เช่าซื้อ
.
ถ้าไม่ชำระค่างวดที่ค้าง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ “ส่งหนังสือขอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ” และติดตาม “ยึดรถ” คืนได้
.
ขั้นตอนติดตาม”ยึดรถ” ของไฟแนนซ์
#ถ้าไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์
1.ไฟแนนซ์ฟ้องคดีแพ่ง
– มีหมายศาลให้ผู้เช่าซื้อไปไกล่เกลี่ยในศาล ต้องไปตามวัน เวลาที่ศาลระบุในคำฟ้อง เพราะจะมีโอกาสขอผ่อนชำระได้ และขอให้ศาลลดหนี้ให้ได้
– ไม่ได้รับหมายศาล แต่มีหนังสือให้นำเงินไปชำระหนี้และมีคำบังคับจากศาลพิพากษาให้นำรถไปคืนหรือชำระราคารถ ผู้เช่าซื้อควรขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล
– ได้รับหมายศาล แต่ไม่ไปตามที่ศาลนัด จะทำให้เสียสิทธิการเจรจาหรือไฟแนนซ์อาจเรียกราคาสูงกว่าความเป็นจริงและศาลพิพากษาตามไฟแนนซ์ร้องขอ โดยผู้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน
2.ไฟแนนซ์ฟ้องคดีอาญา
– มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไฟแนนซ์ฟ้องคดีหรือแจ้งความภายใน 3 เดือน หากมีรถคืนควรรีบคืนทันที เพื่อให้ไฟแนนซ์ถอนแจ้งความ แต่หากไม่มีรถคืนอาจมีความผิด ต้องติดตามหารถให้เจอและแจ้งไฟแนนซ์ให้ยึดรถ หรือเจรจาขอผ่อนจ่าย
.
#ไฟแนนซ์ยึดรถไปแล้ว
1.ใช้สิทธิ/โอนสิทธิซื้อรถได้
– มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้ “ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ”ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อก่อน ภายใน 20 วัน
– ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อ “ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ”
– ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันโอนสิทธิซื้อ “ให้บุคคลภายนอกได้”
2.ได้รับแจ้งวันขายทอดตลาด
– มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันประมูลหรือวันขายทอดตลาด
– ห้ามปรับลดราคายกเว้นมีหนังสือแจ้งราคาที่จะปรับลดให้ทราบก่อน
– ห้ามผู้ให้เช่าซื้อเข้าสู้ราคาในการประมูลหรือขายทอดตลาด
.
#รับคืนหรือชดใช้หนี้ส่วนต่าง
– ถ้าขายได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อต้อง “คืนเงินส่วนที่เกิน” ให้แก่ผู้เช่าซื้อ
– ถ้าขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้อง “รับผิดในส่วนที่ขาด”
.
หากผู้เช่าซื้อถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบธุรกิจ ขอรับคำปรึกษาได้ทาง สายด่วน 1166 หรือร้องทุกข์ ผ่านแอปพลิเคชัน OCPB Connect หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
.
#อ้างอิง
1. ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 https://ratchakitcha.soc.go.th/…/139D245S0000000002600.pdf
2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขพิ่มเติม (มาตรา 35 ทวิ) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A434/%A434-20-9999-update.htm
3. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 (มาตรา 3, 4, 5) http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A434/%A434-2a-2542-a003.htm